การสอบเทียบเครื่องชั่ง(Calibration)
การสอบเทียบเครื่องชั่ง หรือการตั้งค่าน้ำหนัก เรียกเป็นศัพท์เทคนิคว่า "Calibrate" หรือ"CAL" ซึ่งคำว่า CAL จะเป็นตัวอักษรย่อ ที่จะปรากฏบนหน้าจอเครื่องชั่งทุกเครื่อง และทุกครั้งเมื่อทำการตั้งค่าน้ำหนัก
กรณีตัวอย่างเช่น เครื่องชั่งดิจิตอล เริ่มอ่านค่าน้ำหนักที่ 0.01g เมื่อทำการวางวัตถุที่ต้องการใช้ชั่ง ชั่งครั้งที่หนึ่ง เครื่องอ่านค่าน้ำหนักที่ 1.84 ชั่งครั้งที่สอง เครื่องอ่านค่าน้ำหนักที่ 1.80 ชั่งครั้งที่สาม เครื่องอ่านค่า 1.82 ผลของการอ่านค่าน้ำหนัก ไม่นิ่งและไม่เที่ยงตรง แต่ในทางกลับกันหากเครื่องชั่งสามารถอ่านค่าน้ำหนักได้เท่ากันทั้งสามครั้งของการชั่ง หรือสามารถอ่านค่าน้ำหนักได้แตกต่างกัน ไม่เกิน+/- 0.02 จะถือว่าการอ่านน้ำหนักทำได้เที่ยงตรง
ดังนั้นการสอบเทียบน้ำหนัก จึงมีความจำเป็นที่ต้องตั้งการอ่านค่าน้ำหนักของเครื่องชั่งดิจิตอล ซึ่งควรทำทุกครั้งที่เครื่องชั่งเริ่มอ่านค่าน้ำหนักรวน หรือทุกๆหนึ่งเดือน หรือหลังจากที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายเครื่องชั่งดิจิตอลเ็นระยะทางไกลๆ หรือย้ายจากที่มีสภาพอากาศร้อนจัด
ซึ่งการตั้งค่าน้ำหนัก หรือสอบเทียบน้ำหนัก สามารถทำเองได้ง่ายๆโดยไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญแต่อย่างใด แต่ควรอ่านคู่มือการใช้งานประกอบการตั้งค่าน้ำหนักที่มีแนบมากับเครื่องชั่งรุ่นนั้นๆ เพื่อการตั้งค่าน้ำหนักทำได้ถูกต้องตามขั้นตอน และโดยทั่วไป เครื่องชั่งดิจิตอลส่วนใหญ่จะมีขั้นตอนการตั้งค่าเครื่องไม่แตกต่างกันมากนัก สามารถทำตามขั้นตอนอย่างง่ายๆ ได้ดังนี้
ขั้นตอนการสอบเทียบน้ำหนักเครื่อง (Calibrate/ CAL)
1 กดปุ่ม ON เพื่อเปิดเครื่อง รอหน้าจอแสดงผลขึ้น 0.00
2 กดปุ่ม M หรือ MODE ให้เครื่องแสดงค่าตามน้ำหนักการชั่งของเครื่อง เช่น 50g, 100g, 200g
3 วางตุ้มเทียบน้ำหนักบนเครื่อง รอจนจอแสดงผลกระพริบขึ้น PASS
4 หยิบตุ้มเทียบน้ำหนักออก ตรวจสอบความแม่นยำของเครื่องอีกครั้ง
การสอบเทียบน้ำหนักเครื่องชั่ง ต้องมีการใช้ตุ้มสอบเทียบน้ำหนักด้วยทุกครั้ง ตามพิกัดน้ำหนักของเครื่องชั่ง ซึ่งควรมีไว้เป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อให้เครื่องชั่งสามารถชั่งได้เที่ยงตรง ซึ่งตุ้มน้ำหนักนี้สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ตามร้านขายอุปกรณ์ทดลองทางวิทยาศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น