วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กล้องส่องพระ HELKON


กล้องส่องพระ HELKON แบรนด์ดังจากอเมริกา เลนส์แก้ว3ชั้นเคลือบมัลติโค๊ทคุณภาพเยี่ยม ผลิตด้วยเทคนิค "Fluorite Optic" ลิขสิทธิ์เฉพาะของ HELKON ขนาดกระทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาสะดวก มีให้เลือกสองขนาด 10xและ14x พร้อมซองหนังอย่างดี + ผ้าชาร์มัวร์เช็ดทำความสะอาดเลนส์

ประวัติกล้องส่องพระ HELKON


หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในปี 1945. Frank helkon ชาวเยอรมันซึ่งเป็นนักธรณีวิทยา (Geologist) ได้ย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่อเมริกา ทำอาชีพด้านเจียรไนอัญมณี ต่อมาได้สืบทอดมรดกให้นาย robert helkon ซึ่งเป็นลูกชาย ด้วยอาชีพด้านอัญมณี ต้องหนีไม่พ้นเรื่องการใช้กล้องส่อง เพื่อดูเน้ือและเหลื่ยมที่เจียรไน ในช่วงปี 1985 นาย Robert รู้สึกว่ากล้องส่องที่ขายตามท้องตลาดไม่ถูกใจเท่าไหร่ ปัญหาคือการหาโฟกัสยาก การส่องแต่ละจุดต้องขยับไปมา จึงได้ผลิตกล้องส่องขึ้นมาใช้เอง ด้วยสายเลือดนักธรณีวิทยา ได้ล่วงรู้ว่าแร่ ฟลูออไรต์ ( fluorite ) เป็นแร่ที่หักเหแสงได้ดี และให้ภาพคมชัดขึ้น และเป็นแร่ราคาไม่แพง จึงนำมันผลิตเป็นชิ้นเลนส์ขึ้น และนำมาใช้จนถึงปัจุจบัน โดยจุดประสงค์ของกล้องส่องพระ Helkon ต้องการคือส่องง่ายโฟกัสไว และภาพคมชัด น้ำหนักเบา ตัวเรือนไม่ใหญ่หรือเล็ก จับถนัดมือ

การสอบเทียบเครื่องชั่ง (Calibration)

การสอบเทียบเครื่องชั่ง(Calibration)



เครื่องชั่งดิจิตอลเมื่อใช้งานไปสักระยะ หลายท่านคงเคยพบปัญหาการใช้งานขณะชั่งแล้วเริ่มไม่คลาดเคลื่อน บางครั้งเครื่องอ่านค่าไม่นิ่งเมื่อวางวัตถุอยู่กับที่ หรืออ่านค่าขาดหรือเกิน เมื่อทำการชั่งติดๆกัน

การสอบเทียบเครื่องชั่ง หรือการตั้งค่าน้ำหนัก เรียกเป็นศัพท์เทคนิคว่า "Calibrate" หรือ"CAL" ซึ่งคำว่า CAL จะเป็นตัวอักษรย่อ ที่จะปรากฏบนหน้าจอเครื่องชั่งทุกเครื่อง และทุกครั้งเมื่อทำการตั้งค่าน้ำหนัก

กรณีตัวอย่างเช่น เครื่องชั่งดิจิตอล เริ่มอ่านค่าน้ำหนักที่ 0.01g เมื่อทำการวางวัตถุที่ต้องการใช้ชั่ง ชั่งครั้งที่หนึ่ง เครื่องอ่านค่าน้ำหนักที่ 1.84 ชั่งครั้งที่สอง เครื่องอ่านค่าน้ำหนักที่ 1.80 ชั่งครั้งที่สาม เครื่องอ่านค่า 1.82 ผลของการอ่านค่าน้ำหนัก ไม่นิ่งและไม่เที่ยงตรง แต่ในทางกลับกันหากเครื่องชั่งสามารถอ่านค่าน้ำหนักได้เท่ากันทั้งสามครั้งของการชั่ง หรือสามารถอ่านค่าน้ำหนักได้แตกต่างกัน ไม่เกิน+/- 0.02 จะถือว่าการอ่านน้ำหนักทำได้เที่ยงตรง

ดังนั้นการสอบเทียบน้ำหนัก จึงมีความจำเป็นที่ต้องตั้งการอ่านค่าน้ำหนักของเครื่องชั่งดิจิตอล ซึ่งควรทำทุกครั้งที่เครื่องชั่งเริ่มอ่านค่าน้ำหนักรวน หรือทุกๆหนึ่งเดือน หรือหลังจากที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายเครื่องชั่งดิจิตอลเ็นระยะทางไกลๆ หรือย้ายจากที่มีสภาพอากาศร้อนจัด
ซึ่งการตั้งค่าน้ำหนัก หรือสอบเทียบน้ำหนัก สามารถทำเองได้ง่ายๆโดยไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญแต่อย่างใด แต่ควรอ่านคู่มือการใช้งานประกอบการตั้งค่าน้ำหนักที่มีแนบมากับเครื่องชั่งรุ่นนั้นๆ เพื่อการตั้งค่าน้ำหนักทำได้ถูกต้องตามขั้นตอน และโดยทั่วไป เครื่องชั่งดิจิตอลส่วนใหญ่จะมีขั้นตอนการตั้งค่าเครื่องไม่แตกต่างกันมากนัก สามารถทำตามขั้นตอนอย่างง่ายๆ ได้ดังนี้

ขั้นตอนการสอบเทียบน้ำหนักเครื่อง (Calibrate/ CAL)

1 กดปุ่ม ON เพื่อเปิดเครื่อง รอหน้าจอแสดงผลขึ้น 0.00
2 กดปุ่ม M หรือ MODE ให้เครื่องแสดงค่าตามน้ำหนักการชั่งของเครื่อง เช่น 50g, 100g, 200g
3 วางตุ้มเทียบน้ำหนักบนเครื่อง รอจนจอแสดงผลกระพริบขึ้น PASS
4 หยิบตุ้มเทียบน้ำหนักออก ตรวจสอบความแม่นยำของเครื่องอีกครั้ง

การสอบเทียบน้ำหนักเครื่องชั่ง ต้องมีการใช้ตุ้มสอบเทียบน้ำหนักด้วยทุกครั้ง ตามพิกัดน้ำหนักของเครื่องชั่ง ซึ่งควรมีไว้เป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อให้เครื่องชั่งสามารถชั่งได้เที่ยงตรง ซึ่งตุ้มน้ำหนักนี้สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ตามร้านขายอุปกรณ์ทดลองทางวิทยาศาสตร์


การดูแลรักษาเครื่องชั่งดิจิตอล

 


การชั่งให้ได้ความแม่นยำและเที่ยงตรงของเครื่อง ขึ้นกับสภาพของตัวเครื่อง และควรทำการชั่งตามข้อแนะนำนี้ เพื่อผลการชั่งที่แม่นยำ 

-ในการใช้งานเครื่องชั่งนั้น ควรวางบนที่ราบเรียบ และใช้งานในที่อุณหภูมิตามที่กำหนดไว้ของเครื่อง (โดยเฉลี่ย 10-30 องศาเซลเซียส) ห้ามใช้งานหรือวางไว้ใกล้ความร้อน เช่น เตาหรือเครื่องทำความร้อน และหลีกเลี่ยงการวางเครื่องชั่งไว้ใกล้ที่มีกระแสไฟฟ้าแรงสูงหรือสนามแม่เหล็ก

 -หลีกเลี่ยงการใช้แบตเตอรี่ที่ไม่ได้มาตราฐาน(แบตจีนที่แถมมากับเครื่องไม่แนะนำให้ใช้ครับ) กรณีเครื่องไม่ได้ใช้งานเป็นระยะเวลานาน ให้ถอดถ่านแบตเตอรี่ออกก่อนเก็บ ไม่เช่นนั้นเครื่องอาจเสื่อมสภาพลง เนื่องจากมีการรั่วซึมของถ่านแบตเตอรี่  หลีกเลี่ยงการใช้จนแบตเตอรี่เพราะอาจจะทำให้ไม่ได้ผลการชั่งที่ถูกต้อง

-หลีกเลี่ยงการชั่งของที่น้ำหนักเกินพิกัดสูงสุดของเครื่อง

 -การเก็บรักษาหลังจากใช้งานเสร็จ เมื่อไม่ได้ใช้งานแล้วให้ปิดเครื่องทุกครั้ง เช็ดเบาๆด้วยผ้าทุกครั้งก่อนเก็บ ควรเก็บเครื่องชั่งให้พ้นจากการถูกสารเคมีหรือน้ำหกใส่ และ เพื่อเป็นการถนอมรักษาเครื่องชั่งให้ใช้งานได้นาน และอย่าวางวัตถุที่ชั่งแล้วค้างไว้บนเครื่องชั่ง หากเครื่องชั่งมีปัญหาในการใช้งาน ชั่งไม่เที่ยงตรง สามารถทำการตั้งเครื่องใหม่ (Calibration)หากทำการตั้งเครื่องแล้ว ยังทำการชั่งคลาดเคลื่อน ควรส่งเครื่องชั่งซ่อมโดยช่างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และเนื่องจากเครื่องชั่งส่วนใหญ่ มีรับประกันจากโรงงานผู้ผลิต หรือร้านค้าที่จำหน่ายเครื่องชั่งนั้น ดังนั้นควรส่งซ่อมโดยตรงไปยังโรงงานผู้ผลิตจึงเป็นทางเลือกที่ดีทึ่สุดและร้านค้าที่มีการรับประกันเครื่องชั่ง