วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คู่มือการใช้งานเครื่องชั่งดิจิตอลเบื้องต้น

คู่มือการใช้งานเครื่องชั่งดิจิตอลเบื้องต้น

1.กดปุ่ม  “ON/OFF” รอประมาณ 3 sec. หน้าจอจะโชว์  “0.00”
2.วางสิงที่ต้องการชั่งลงกลางถาดชั่งเบาๆ รอจนตัวเลขนิ่งแล้วจึงอ่านค่าที่ได้
3.กดปุ่ม “UNIT” เพื่อเปลี่ยนหน่วยวัด: g/oz/ozt/dwt/ct/tl/gn
4.กดปุ่ม “TARE” เพื่อเริ่มค่าเป็น “0.00”
5.กดปุ่ม “PCS” เพื่อการนับจำนวน

การใช้งานปุ่ม PCS คือฟังชั่นการนับจำนวน วิธีตั้งค่าทำดังนี้


1.เปิดเครื่อง รอจนไฟหน้าจอเครื่องชั่งดิจิตอล พร้อมทำงาน 0.0g

2.วางจำนวนชิ้นงานที่ใช้เป็นตัวอย่าง ชิ้นงานสามารถเลือกได้ 25 , 50 , 100 ตัวอย่าง (ตัวอย่างยิ่งมาก ยิ่งนับได้แน่นอน)

3.กดปุ่ม PCS ค้างไว้ (ประมาณ 2 วินาที) จนหน้าจอขึ้น ตัวเลขจำนวนกลุ่มตัวอย่าง (ตัวเลขจะขึ้น 25 ถ้าต้องการเปลี่ยน ให้กด mode ตัวเลขที่หน้าจอเครื่องชั่งจะเปลี่ยนเป็น 50 , 100 ตามลำดับ)  เลือกตัวเลข ให้ตรงกับจำนวนตัวอย่างชิ้นงาน

4.กดปุ่ม PCS อีกครั้ง  ที่มุมซ้ายของหน้าจอเครื่องชั่งดิจิตอล จะขึ้นหนังสือ pcs แสดงว่าอยู่ใน mode นับจำนวนชิ้นแล้ว ให้เอาชิ้นงานตัวอย่างออกเป็นอันเสร็จการตั้งค่า

5.ที่ mode counting จะขึ้นเป็นจำนวนนับ 1 2 3 4 …   ถ้าต้องการชั่งเป็น g ให้กด mode ก็จะชั่งเป็นน้ำหนัก ปรกติ

6.ถ้าใช้ชิ้นงานขนาดเดียวกัน ไม่ต้องตั้งใหม่ทุกครั้ง เครื่องชั่งดิจิตอล จะจำน้ำหนักตัวอย่างเดิมไว้  แต่ถ้าเปลี่ยนขนาดชิ้นงานต้องทำตามขึ้นตอนใหม่ เพื่อให้เครื่องชั่งดิจิตอลจำน้ำหนักใหม่ก่อน

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กล้องส่องพระ HELKON


กล้องส่องพระ HELKON แบรนด์ดังจากอเมริกา เลนส์แก้ว3ชั้นเคลือบมัลติโค๊ทคุณภาพเยี่ยม ผลิตด้วยเทคนิค "Fluorite Optic" ลิขสิทธิ์เฉพาะของ HELKON ขนาดกระทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาสะดวก มีให้เลือกสองขนาด 10xและ14x พร้อมซองหนังอย่างดี + ผ้าชาร์มัวร์เช็ดทำความสะอาดเลนส์

ประวัติกล้องส่องพระ HELKON


หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในปี 1945. Frank helkon ชาวเยอรมันซึ่งเป็นนักธรณีวิทยา (Geologist) ได้ย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่อเมริกา ทำอาชีพด้านเจียรไนอัญมณี ต่อมาได้สืบทอดมรดกให้นาย robert helkon ซึ่งเป็นลูกชาย ด้วยอาชีพด้านอัญมณี ต้องหนีไม่พ้นเรื่องการใช้กล้องส่อง เพื่อดูเน้ือและเหลื่ยมที่เจียรไน ในช่วงปี 1985 นาย Robert รู้สึกว่ากล้องส่องที่ขายตามท้องตลาดไม่ถูกใจเท่าไหร่ ปัญหาคือการหาโฟกัสยาก การส่องแต่ละจุดต้องขยับไปมา จึงได้ผลิตกล้องส่องขึ้นมาใช้เอง ด้วยสายเลือดนักธรณีวิทยา ได้ล่วงรู้ว่าแร่ ฟลูออไรต์ ( fluorite ) เป็นแร่ที่หักเหแสงได้ดี และให้ภาพคมชัดขึ้น และเป็นแร่ราคาไม่แพง จึงนำมันผลิตเป็นชิ้นเลนส์ขึ้น และนำมาใช้จนถึงปัจุจบัน โดยจุดประสงค์ของกล้องส่องพระ Helkon ต้องการคือส่องง่ายโฟกัสไว และภาพคมชัด น้ำหนักเบา ตัวเรือนไม่ใหญ่หรือเล็ก จับถนัดมือ

การสอบเทียบเครื่องชั่ง (Calibration)

การสอบเทียบเครื่องชั่ง(Calibration)



เครื่องชั่งดิจิตอลเมื่อใช้งานไปสักระยะ หลายท่านคงเคยพบปัญหาการใช้งานขณะชั่งแล้วเริ่มไม่คลาดเคลื่อน บางครั้งเครื่องอ่านค่าไม่นิ่งเมื่อวางวัตถุอยู่กับที่ หรืออ่านค่าขาดหรือเกิน เมื่อทำการชั่งติดๆกัน

การสอบเทียบเครื่องชั่ง หรือการตั้งค่าน้ำหนัก เรียกเป็นศัพท์เทคนิคว่า "Calibrate" หรือ"CAL" ซึ่งคำว่า CAL จะเป็นตัวอักษรย่อ ที่จะปรากฏบนหน้าจอเครื่องชั่งทุกเครื่อง และทุกครั้งเมื่อทำการตั้งค่าน้ำหนัก

กรณีตัวอย่างเช่น เครื่องชั่งดิจิตอล เริ่มอ่านค่าน้ำหนักที่ 0.01g เมื่อทำการวางวัตถุที่ต้องการใช้ชั่ง ชั่งครั้งที่หนึ่ง เครื่องอ่านค่าน้ำหนักที่ 1.84 ชั่งครั้งที่สอง เครื่องอ่านค่าน้ำหนักที่ 1.80 ชั่งครั้งที่สาม เครื่องอ่านค่า 1.82 ผลของการอ่านค่าน้ำหนัก ไม่นิ่งและไม่เที่ยงตรง แต่ในทางกลับกันหากเครื่องชั่งสามารถอ่านค่าน้ำหนักได้เท่ากันทั้งสามครั้งของการชั่ง หรือสามารถอ่านค่าน้ำหนักได้แตกต่างกัน ไม่เกิน+/- 0.02 จะถือว่าการอ่านน้ำหนักทำได้เที่ยงตรง

ดังนั้นการสอบเทียบน้ำหนัก จึงมีความจำเป็นที่ต้องตั้งการอ่านค่าน้ำหนักของเครื่องชั่งดิจิตอล ซึ่งควรทำทุกครั้งที่เครื่องชั่งเริ่มอ่านค่าน้ำหนักรวน หรือทุกๆหนึ่งเดือน หรือหลังจากที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายเครื่องชั่งดิจิตอลเ็นระยะทางไกลๆ หรือย้ายจากที่มีสภาพอากาศร้อนจัด
ซึ่งการตั้งค่าน้ำหนัก หรือสอบเทียบน้ำหนัก สามารถทำเองได้ง่ายๆโดยไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญแต่อย่างใด แต่ควรอ่านคู่มือการใช้งานประกอบการตั้งค่าน้ำหนักที่มีแนบมากับเครื่องชั่งรุ่นนั้นๆ เพื่อการตั้งค่าน้ำหนักทำได้ถูกต้องตามขั้นตอน และโดยทั่วไป เครื่องชั่งดิจิตอลส่วนใหญ่จะมีขั้นตอนการตั้งค่าเครื่องไม่แตกต่างกันมากนัก สามารถทำตามขั้นตอนอย่างง่ายๆ ได้ดังนี้

ขั้นตอนการสอบเทียบน้ำหนักเครื่อง (Calibrate/ CAL)

1 กดปุ่ม ON เพื่อเปิดเครื่อง รอหน้าจอแสดงผลขึ้น 0.00
2 กดปุ่ม M หรือ MODE ให้เครื่องแสดงค่าตามน้ำหนักการชั่งของเครื่อง เช่น 50g, 100g, 200g
3 วางตุ้มเทียบน้ำหนักบนเครื่อง รอจนจอแสดงผลกระพริบขึ้น PASS
4 หยิบตุ้มเทียบน้ำหนักออก ตรวจสอบความแม่นยำของเครื่องอีกครั้ง

การสอบเทียบน้ำหนักเครื่องชั่ง ต้องมีการใช้ตุ้มสอบเทียบน้ำหนักด้วยทุกครั้ง ตามพิกัดน้ำหนักของเครื่องชั่ง ซึ่งควรมีไว้เป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อให้เครื่องชั่งสามารถชั่งได้เที่ยงตรง ซึ่งตุ้มน้ำหนักนี้สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ตามร้านขายอุปกรณ์ทดลองทางวิทยาศาสตร์


การดูแลรักษาเครื่องชั่งดิจิตอล

 


การชั่งให้ได้ความแม่นยำและเที่ยงตรงของเครื่อง ขึ้นกับสภาพของตัวเครื่อง และควรทำการชั่งตามข้อแนะนำนี้ เพื่อผลการชั่งที่แม่นยำ 

-ในการใช้งานเครื่องชั่งนั้น ควรวางบนที่ราบเรียบ และใช้งานในที่อุณหภูมิตามที่กำหนดไว้ของเครื่อง (โดยเฉลี่ย 10-30 องศาเซลเซียส) ห้ามใช้งานหรือวางไว้ใกล้ความร้อน เช่น เตาหรือเครื่องทำความร้อน และหลีกเลี่ยงการวางเครื่องชั่งไว้ใกล้ที่มีกระแสไฟฟ้าแรงสูงหรือสนามแม่เหล็ก

 -หลีกเลี่ยงการใช้แบตเตอรี่ที่ไม่ได้มาตราฐาน(แบตจีนที่แถมมากับเครื่องไม่แนะนำให้ใช้ครับ) กรณีเครื่องไม่ได้ใช้งานเป็นระยะเวลานาน ให้ถอดถ่านแบตเตอรี่ออกก่อนเก็บ ไม่เช่นนั้นเครื่องอาจเสื่อมสภาพลง เนื่องจากมีการรั่วซึมของถ่านแบตเตอรี่  หลีกเลี่ยงการใช้จนแบตเตอรี่เพราะอาจจะทำให้ไม่ได้ผลการชั่งที่ถูกต้อง

-หลีกเลี่ยงการชั่งของที่น้ำหนักเกินพิกัดสูงสุดของเครื่อง

 -การเก็บรักษาหลังจากใช้งานเสร็จ เมื่อไม่ได้ใช้งานแล้วให้ปิดเครื่องทุกครั้ง เช็ดเบาๆด้วยผ้าทุกครั้งก่อนเก็บ ควรเก็บเครื่องชั่งให้พ้นจากการถูกสารเคมีหรือน้ำหกใส่ และ เพื่อเป็นการถนอมรักษาเครื่องชั่งให้ใช้งานได้นาน และอย่าวางวัตถุที่ชั่งแล้วค้างไว้บนเครื่องชั่ง หากเครื่องชั่งมีปัญหาในการใช้งาน ชั่งไม่เที่ยงตรง สามารถทำการตั้งเครื่องใหม่ (Calibration)หากทำการตั้งเครื่องแล้ว ยังทำการชั่งคลาดเคลื่อน ควรส่งเครื่องชั่งซ่อมโดยช่างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และเนื่องจากเครื่องชั่งส่วนใหญ่ มีรับประกันจากโรงงานผู้ผลิต หรือร้านค้าที่จำหน่ายเครื่องชั่งนั้น ดังนั้นควรส่งซ่อมโดยตรงไปยังโรงงานผู้ผลิตจึงเป็นทางเลือกที่ดีทึ่สุดและร้านค้าที่มีการรับประกันเครื่องชั่ง